ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จากอดีตที่ผ่านมาทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) และซอฟท์แวร์ (Software) โดยฮาร์ดแวร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์ เช่น CPU ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นเป็นชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาแพร่หลายเรียกว่า Microsoft Visual Basic 6 ที่ช่วยให้พัฒนาซอฟท์แวร์ต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งสามารถพัฒนาซอฟท์แวร์ได้หลากหลายอย่างด้วยกัน ตั้งแต่โปรแกรมธรรมดาทั่วไปโปรแกรมเกี่ยวกับฐานข้อมูล หรือโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
2.2.2 การเริ่มต้นใช้งาน Visual Basic6
สำหรับก่อนอื่นให้เรารันโปรแกรม VB6 ขึ้นมาก่อน เมื่อเรารันขึ้นมาแล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูปซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เราจะเลือก Standad.EXE ซึ่งเป็นโปรแกรมการใช้ VB6 ในการเขียนโปรแกรมที่ร้นบนวินโดวส์ทั่วไป
เนื่องจากโปรเจ็กต์ชนิด Standad.EXE นั้นเป็นการเขียนโปรแกรมทั่วไปที่รันบนวินโดวส์ (สำหรับโปรเจ็กต์ชนิดอื่นเราจะกล่าวถึงภายหลัง) โดยโปรเจ็กต์คือกลุ่มของไฟล์ที่เราจะนำมารวมกันเพื่อสร้างโปรแกรมใน VB6
นอกจากนี้ ยังมีแท็บ Recent ซึ่งจะช่วยให้เราเปิดโปรเจ็กต์ที่เราเพิ่งปิดไปคราวก่อน ได้รวดเร็วขึ้นและแท็บ existing ซึ่งจะช่วยให้เราเปิด โปรเจ็กต์ที่มีอยู่แล้วได้
เมื่อเราเลือกเสร็จแล้ว ต่อไปจะปรากฏหน้าจอของ Visual Basic6 โดยมีชื่อของส่วนประกอบต่างๆ ที่เราจำเป็นต้องทราบในตอนนี้ ดังรูป
หลักการในการเขียนโปรแกรมด้วย VB6
สำหรับในหัวข้อนี้ เราจะกล่าวถึงพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการที่ควรทราบในการพัฒนาโปรแกรมด้วย VB6 โดยมีสิ่งที่เราต้องรู้จักคือ คอนโทรล คุณสมบัติ และการเขียนโปรแกรมแบบ Event-Driven สำหรับหลักการต่างๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับท่านที่เพิ่งจะเขียนโปรแกรมบนวินโดว์ จึงขอให้ท่านศึกษารายละเอียดต่างๆ ในหัวข้อนี้ให้ดี เนื่องจากมีความสำคัญอย่างมากในการใช้โปรแกรม VB6
เราสามารถแบ่งขั้นตอนการสร้างโปรแกรมใน Visual Basic6 ได้เป็น 3 ขั้นตอนหลักได้แก่
1. การใช้คอนโทรลออกแบบหน้าจอโปรแกรม ซึ่งหน้าจอโปรแกรมเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ (เรียกว่า ยูสเซอร์อินเตอร์เฟส : User Interface)
2. การกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรล เช่น ขนาด ตำแหน่งที่วางคอนโทรล
3. การเขียนโปรแกรม ซึ่งใน VB6 จะเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Event – Driven
การใช้คอนโทรลออกแบบหน้าจอโปรแกรม (Controls คืออะไร?)
คอนโทรล (Controls) เป็นเครื่องมือในการออกแบบหน้าจอโปรแกรม ซึ่งเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ VB6 ได้เตรียมไว้ในทูลบ็อกซ์ โดยให้เราเลือกคอนโทรลที่อยู่ตรงกับจุดประสงค์ในการใช้งาน และนำมาวางบนฟอร์มว่างที่ปรากฏอยู่
สำหรับคอนโทรลที่เป็นพื้นฐานที่จะกล่าวถึง ได้แก่
เท็กบ็อกซ์ (Text Box) ใช้รับข้อมูลจากผู้ใช้
เลเบล (Label) ใช้แสดงข้อมูลบางอย่างแก่ผู้ใช้
ปุ่มคำส่ง (Command Button) ให้ผู้ใช้คลิกเมาส์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง
คอนโทรลที่ต่างๆ ที่เรากล่าวมาแล้วนั้นมีหน้าตาซึ่งแสดงให้เห็นได้ดังรูป
VB6 ได้เตรียมคอนโทรลที่กล่าวมาเหล่านี้ เป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม แต่ยังมีคอนโทรลอื่นที่น่าสนใจอีกมามาย ซึ่งเราจะได้ศึกษากันอย่างละเอียดในบทต่อๆ ไป สำหรับในบทนี้เราจะใช้คอนโทรลพื้นฐาน 3 คอนโทรลนี้ก่อน
การสร้างโปรแกรมในขั้นตอนแรกนั้น เราต้องเลือกคอนโทรลต่างๆ ให้เหมาะสมกับการทำงานของโปรแกรม เพราะว่าเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานเห็น และทำงานด้วย
เมื่อเราเลือกคอนโทรลจากทูลบ็อกซ์ มาวางบนฟอร์ม VB6 จะตั้งชื่อให้กับคอนโทรลโดยอัตโนมัติโดยใช้กฎต่อไปนี้
• เท็กบ็อกซ์อันแรกที่วางจะมีชื่อ Text1 อันต่อไปจะชื่อว่า Text2 ไปเรื่อยๆ
• เลเบลอันแรกที่วาง จะมีชื่อว่า Label1 อันต่อไปจะมีชื่อว่า Label2 ไปเรื่อยๆ
• ปุ่มคำสั่งอันแรกที่วาง จะมีชื่อว่า Command1 อันต่อไปจะมีชื่อว่า Command2 ไปเรื่อยๆ
การกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรล (Properties คืออะไร)
คุณสมบัติ (Properties) คือลักษณะต่างๆ ของคอนโทรลที่ถูกนำมาวางบนฟอร์มที่เราสามารถกำหนดได้ เช่น ข้อความที่ปรากฏบนคอนโทรล รูปแบบฟอนต์ของคอนโทรล สำหรับคอนโทรลพื้นฐานที่เรากล่าวมาแล้วทั้ง 3 คอนโทรล จะมีคุณสมบัติต่างๆ ที่สำคัญต่อไปนี้
1. เท็กบ็อกซ์ มีคุณสมบัติ Text ที่ใช้กำหนดข้อความที่แสดงบนเท็กบ็อกซ์
2. ปุ่มคำส่ง มีคุณสมบัติ Caption ที่ใช้กำหนดข้อความที่แสดงบนปุ่มคำสั่ง
3. เลเบล มีคุณสมบัติ Caption ที่ใช้กำหนดข้อความที่แสดงบนเลเบล
คุณสมบัติทั้ง 3 แสดงได้ดังรูป สำหรับรายละเอียดของคุณสมบัติต่างๆ ของคอนโทรลที่เพิ่มขึ้นมา เราจะได้ศึกษากันในบทต่อๆ ไป
การเขียนโปรแกรม (Event - Driven คืออะไร? )
การเขียนโปรแกรมแบบ Event – Driven คือการใช้คำสั่งกำหนดให้คอนโทรลตอบสนองต่อเหตุการณ์ บางอย่างที่เกิดขึ้น (เรียกว่า อีเว็นต์: Event) เมื่อโปรแกรมที่สร้างถูกนำมาใช้งาน เช่น ถ้าเราต้องการให้โปรแกรมเกิดการตอบสนองเมื่อปุ่มคำสั่งถูกคลิก หรือตอบสนองเมื่อคลิก หรือตอบสนองเมื่อค่าในการเท็กบ็อกซ์ถูกเปลี่ยนแปลง เราต้องเขียนคำสั่งที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านั้นซึ่งแสดงดังรูป
สำหรับตัวอย่างอีเว็นต์พื้นฐานที่เราควรรู้จัก ได้แก่
· อีเว็นต์
Change จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนข้อความในการเท็กบ็อกซ์
· อีเว็นต์
Click จะเกิดขึ้นเมื่อมีการคลิกเมาส์ที่ปุ่มคำสั่ง
สำหรับกฎการตั้งชื่อของคำสั่งที่ตอบสนองต่ออีเว็นต์ใน
VB6 จะใช้ชื่อคอนโทรลตามด้วยเครื่องหมาย UnderScore
(_) และชื่ออีเว็นต์ เช่น ปุ่มคำสั่งชื่อ Command1
ดังนั้นคำสั่งที่ตอบสนองต่ออีเว็นต์ Click
จะมีชื่อคำสั่งเป็น Command1_Click โดยมีรูปแบบต่อไปนี้
สำหรับคำว่า Private
Sub และ End Sub จะเป็นการบอกว่าคำสั่งที่ตอบสนองเริ่มต้นและจบลงที่ใด
5 ขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมด้วย VB6
สำหรับในหัวข้อนี้
จะกล่าวถึงส่วนที่เหลือที่เราต้องทราบในการเขียนโปรแกรมด้วย VB6
ได้แก่ การทำงานกับคอนโทรล การกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรลผ่านทาง Properties
Window และการใช้หน้าต่าง Code Editor ในการจัดการกับอีเว็นต์
ขั้นตอนที่ 1 การสร้าง / ย้าย /
เปลี่ยนขนาด / ลบ คอนโทรลบนฟอร์ม
สำหรับการสร้างคอนโทรลให้เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.
ให้เราคลิกเมาส์เลือกคอนโทรลที่เราต้องการนำมาวางบนฟอร์มจากการทูลบ็อกซ์
2. ให้เราเลือกเมาส์เพื่อกำหนดขนาดของคอนโทรลตามที่ต้องการบนฟอร์ม
การย้ายคอนโทรล
เมื่อเราต้องการเปลี่ยนตำแหน่งของคอนโทรลที่วางไปแล้วบนฟอร์มไปยังตำแหน่งใหม่ให้คลิกเมาส์เลือกคอนโทรลที่ต้องการย้าย และลากเมาส์ไปยังตำแหน่งใหม่ได้เลย
การเปลี่ยนขนาดของคอนโทรล
การเปลี่ยนแปลงขนาดของคอนโทรล สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. คลิกเมาส์เลือกคอนโทรลที่ต้องการเปลี่ยนขนาด
2. เลื่อนเมาส์ไปยังปุ่มมี่เหลี่ยมรอบคอนโทรลที่เลือก จนตัวชี้เมาส์เป็นรูปลูกศร 2 ทาง
3. คลิกและลากเมาส์เมื่อได้ขนาดของคอนโทรล
4. ปล่อยเมาส์เมื่อได้ขนาดของคอนโทรลตามที่ต้องการ
การลบคอนโทรลออกจากฟอร์ม
เราสามารถกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรลที่ไม่จำเป็นต้องใช้ได้ โดยคลิกเมาส์เลือกคอนโทรลที่ต้องการจะลบ แล้วกดปุ่ม <Delete> หรือเลือกคำสั่ง Edit>Delete จากเมนู
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดคุณสมบัติของคอนโทรล
เราสามารถกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรลทุกอันบนฟอร์มผ่านหน้าต่าง Properties Window (ถ้า Properties Window ไม่ได้เปิดอยู่ ให้คลิกเมาส์เลือกเมนู View>Properties Window หรือคลิกปุ่ม ที่ทูลบาร์เพื่อเปิด Properties Window)
Properties Window ประกอบด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
Object ListBox แสดงรายชื่อคอนโทรลที่มีอยู่บนฟอร์มทั้งหมด
Properties List แสดงชื่อคุณสมบัติทางด้านซ้าย และค่าคุณสมบัตินั้นทางด้าน ขาวโดยจะมีอยู่ 2 แท็บ คือ Alphabetic ที่จะแสดงคุณสมบัติเรียง
ตามที่ตัวอักษร และ Categorized ที่จะแสดงคุณสมบัติโดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ
Description Pane แสดงคำอธิบายสั้นๆ สำหรับคุณสมบัติที่เลือก
Object ListBox แสดงรายชื่อคอนโทรลที่มีอยู่บนฟอร์มทั้งหมด
Properties List แสดงชื่อคุณสมบัติทางด้านซ้าย และค่าคุณสมบัตินั้นทางด้าน ขาวโดยจะมีอยู่ 2 แท็บ คือ Alphabetic ที่จะแสดงคุณสมบัติเรียง
ตามที่ตัวอักษร และ Categorized ที่จะแสดงคุณสมบัติโดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ
Description Pane แสดงคำอธิบายสั้นๆ สำหรับคุณสมบัติที่เลือก
สำหรับการกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรลนั้น เราจะกำหนดผ่าน Properties Window โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. คลิกเมาส์เลือกคอนโทรลบนหน้าจอที่ต้องการกำหนดคุณสมบัติ ให้สังเกตว่า Properties Window จะแสดงคุณสมบัติของคอนโทรลที่เราเลือก
2. เลือกคุณสมบัติที่ต้องการเปลี่ยนใน Properties Window และป้อนค่าใหม่ทางด้านขวาของ Properties Window
หน้าต่าง Code Editor เป็นหน้าต่างที่เราใส่คำสั่งของ VB6 ลงไป เพื่อตอบสนองต่ออีเว็นต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการตอบสนองต่ออีเว็นต์
1. เปิดหน้าต่าง Code Editor ด้วยการเลือกเมนู View<Code
2. เลือกชื่อคอนโทรลที่ต้องการให้ตอบสนองต่ออีเว็นต์ในช่องรายการด้านซ้าย
3. เลือกชื่ออีเว็นต์ที่จะถูกตอบสนองในช่องรายการทางด้านขาว
4. ใส่คำสั่งลงไประหว่างข้อความ Private Sub <ชื่อคอนโทรล>_<ชื่ออีเว็นต์> กับ End Sub
5. หลังจากการเขียนคำสั่งเสร็จสิ้น ในขณะรันโปรแกรมเมื่อมีอีเว็นต์ที่เลือกเกิดขึ้นโปรแกรมก็จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ตามคำสั่งที่เราเขียน
ขั้นตอนที่ 4 การรันแอพพลิเคชั่น
เราสามารถรันโปรมแกรมเมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย เพื่อตรวจสอบการทำงานได้ โดยเลือกคำสั่ง Run>Start จากเมนู
การบันทึกโปรเจ็กต์ของเรา
โปรแกรมที่เราพัฒนาใน Visual Basic มักประกอบด้วยส่วนย่อยๆ เรียกว่าโมดูล ซึ่งโมดูลต่างๆ เหล่านี้ เมื่อนำมารวมกันมีชื่อรียกว่าโปรเจ็กต์ (Project) เมื่อเราทำการพัฒนาโปรแกรมใน Visual Basic ไปได้สักพัก เราอาจต้องการหยุดพัก แล้วกลับมาพัฒนาต่อในวันหลัง เราสามารถสั่งบันทึกโปรเจ็กต์ของเราได้ ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีคือ
• การบันทึกโปรเจ็กต์ในชื่อเดิม
ให้เราเลือก File>Save Project จากเมนู และถ้ามีไฟล์อื่นๆ ในโปรเจ็กต์ยังไม่ได้ได้เซฟ VB6 จะให้เราตั้งชื่อไฟล์เพื่อเซฟด้วย
• การบันทึกโปรเจ็กต์ในชื่อใหม่
ให้เราเลือก File>Save Project As จากเมนู และถ้ามีไฟล์อื่นๆ ในโปรเจ็กต์ยังไม่ได้เซฟ VB6 จะให้เราตั้งชื่อไฟล์เพื่อเซฟด้วย
ตัวอย่างโปรแกรมแรกของเรา
ในหัวข้อนี้ จะนำความรู้ที่ได้จากตอนต้นของบทมาใช้สร้างโปรแกรมแรกของเรา ซึ่งเราสามารถสรุปขั้นตอนการสร้างโปรแกรมในVB6 ได้ 3 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ คือ
1. ออกแบบหน้าจอที่ติดต่อกับผู้ใช้
2. กำหนดคุณสมบัติของคอนโทรลบนฟอร์มให้เหมาะสม
3. เขียนคำสั่งตอบสนองต่ออีเว็นต์
สำหรับในโปรแกรมนี้ เราจะสร้างโปรแกรมที่รับข้อความจากผู้ใช้และแสดงข้อความที่พิมพ์เมื่อมีการ คลิกเมาส์ปุ่ม ตกลง ซึ่งมีลักษณะการทำงานดังรูป
จากคำสั่งข้างต้น คำสั่ง MsgBox จะแสดงไดอะล็อกซ์บ็อกซ์แสดงข้อความ ลดาวัลย์ ต่อท้ายด้วยข้อความใน Text1 ซึ่งเครื่องหมาย & จะเป็นการเชื่อมข้อความทั้ง 2 เข้าด้วยกัน และ Text1.Text จะเป็นการอ้างถึงคุณสมบัติ Text ของเท็กบ็อกซ์ชื่อ Text1 ซึ่งก็คือค่าที่ผู้พิมพ์เข้าไปในเท็กบ็อกซ์
สำหรับเครื่องหมาย “ที่คร่อมข้อความ “Hello,” นั้นจะเป็นการบอกว่าเป็นข้อมูลชนิดข้อความ (ข้อมูลชนิดนี้เรียกว่า String ซึ่งรายละเอียดจะอยู่ในบทที่ 5) โดยเครื่องหมาย “ไม่ได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของ ข้อความด้วย
สำหรับ VbOKOnly นั้นจะทำให้ไดอะล็อกซ์บ็อกซ์แสดงปุ่มOK เท่านั้น โดยมีเครื่องหมายเป็น ตัวแยกระหว่างข้อความ “Hello,” & Text1.Text กับ VbOKOnly ออกจากกัน
5. จากนั้นให้เรารันโปรแกรม โดยการเลือก Run>Start จากเมนู
6. เราจะได้โปรแกรมที่ทำงานดังต้องการ โดยเมื่อเราคลิกเมาส์ปุ่ม ตกลง โปรแกรมจะแสดง ไดอะล็อกซ์ ซึ่งมีข้อความ ลดาวัลย์, ตามด้วยข้อความในเท็กบ็อกซ์ Text1
สรุป
ในบทนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนในการใช้งาน VB6 โดยเริ่มแรกศึกษาถึงส่วนประกอบต่างๆ ของ VB6 หลักการในการเขียนโปรแกรมด้วย VB6 วิธีการใช้คอนโทรลออกแบบหน้าจอโปรแกรมการกำหนดถึงคุณสมบัติของคอนโทรล และศึกษา 5 ขั้นตอนในการสร้างโปรแกรมด้วย VB6
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น