1.2.6 รู้จักคอนโทรลพื้นฐานใน Visual Basic6
คอนโทรลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับผู้ใช้ ซึ่งใน VB6 จะมีแถบเครื่องมือที่เก็บคอนโทรลอยู่
เราเรียกแถบเครื่องมือนี้ว่า ทูลบ็อกซ์ (Toolbox) ซึ่งมีลักษณะดังรูป
คอนโทรลพื้นฐานใน VB6 จะเป็นคอนโทรลติดต่อกับผู้ใช้ในการทำงานพื้นฐานต่าง
ๆ เช่น การแสดงข้อความ และรับข้อความจากผู้ใช้ การแสดงรูปภาพ การแสดงตัวเลือกแก่ผู้ใช้
เป็นต้น คอนโทรลพื้นฐานต่าง ๆ ของ VB6 ที่จะศึกษาในบทนี้ จะมีดังต่อไปนี้
เลเบล (Label) เท็กบ็อกซ์ (Text box)
เฟรม (Frame) ปุ่มคำสั่ง (Command button)
ออบชั่นบัตทอน (Option button) เช็กบ็อกซ์ (Check box)
แนะนำคอนโทรลพื้นฐานใน VB6
คอนโทรลสำหรับแสดงและรับข้อมูล
คอนโทรลสำหรับแสดงและรับข้อมูล ก็จะมีเลเบล เท็กบ็อกซ์ ซึ่งเลเบลจะใช้ในการแสดงข้อมูลอย่างเดียว ไม่สามารถให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลเข้ามาได้ ส่วนเท็กบ็อกซ์นั้นจะให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลเข้ามาได้ด้วย เช่น ให้ผู้ใช้ใส่ชื่อและรหัสผ่าน เป็นต้น
แนะนำคอนโทรลพื้นฐานใน VB6
คอนโทรลสำหรับแสดงและรับข้อมูล
คอนโทรลสำหรับแสดงและรับข้อมูล ก็จะมีเลเบล เท็กบ็อกซ์ ซึ่งเลเบลจะใช้ในการแสดงข้อมูลอย่างเดียว ไม่สามารถให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลเข้ามาได้ ส่วนเท็กบ็อกซ์นั้นจะให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลเข้ามาได้ด้วย เช่น ให้ผู้ใช้ใส่ชื่อและรหัสผ่าน เป็นต้น
Lable Control
Label คือโปรเจ็กต์ที่ใช้สำหรับกำหนดชื่อ ข้อความ หรือคำอธิบายเพิ่มเติมต่าง ๆ
เพื่อเป็นส่วนเสริมหรือส่วนที่ใช้อ้างอิงให้กับ Object อื่น
การสร้าง Label จะใช้เครื่องมือ Label Control ที่อยู่ใน Tool Box ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับControl Form โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม ที่ Tool Box
เมื่อคลิกที่ปุ่ม แล้วจะทำให้ลักษณะของ Mouse Pointer เปลี่ยนรูปเป็น + หรือเครื่องหมายบวก จากนั้นให้ทำการเลื่อน Mouse Pointer ไปยังตำแหน่งที่เราต้องการใส่ Label
2. จากข้อ 1 คลิกเมาส์ค้างไว้เพื่อกำหนดตำแหน่งอย่าเพิ่งปล่อยเมาส์ ให้คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากเมาส์เพื่อกำหนดขนาดของกรอบ Label ที่ต้องการ เมื่อได้ขนาดที่ต้องการให้ปล่อยเมาส์จะได้กรอบ Label ตรงบริเวณที่ลากเมาส์ พร้อมกันที่ Properties Window จะปรากฏ Name หรือชื่อเป็น Label
3. กำหนดชื่อของ Label ที่ Properties Name และกำหนดคำอธิบายไว้ที่ Caption เพื่อสะดวกต่อการนำไปอ้างอิง
4. กำหนดรูปแบบหรือลักษณะของตัวอักษรที่ต้องการให้ปรากฏที่ Label ได้ในส่วนของ Font ที่ Properties Window
เมื่อคลิกที่ปุ่มด้านขวาของ Properties Font จะปรากฏ Font Dialogbox ให้กำหนดลักษณะและรูปแบบของตัวอักษรตามต้องการ เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK ใน Font Dialogbox เพื่อยืนยันค่ากำหนดดังกล่าว
5. กำหนดสีของตัวอักษรที่จะให้แสดงที่ Label โดยกำหนดที่ ForeColor โดยการใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Drop Down List ที่อยู่ทางขวามือ จะปรากฏ Color Palette หรือแถบตัวอย่างสี จากนั้นใช้เมาส์คลิกเลือกสีที่ต้องการ
6. การกำหนดขนาดของกรอบ Label ผู้เขียนจะกำหนดให้มีขนาดพอดีหรือ Fit กับขนาดตัวอักษรโดยกำหนดที่ตัวเลือกหรือคุณสมบัติ AutoSize ใน Properties Window โดยกำหนดค่าเป็น True
Text Box Control
Text Box Control คือเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Text Box สำหรับป้อนข้อมูล
ลงในแบบฟอร์ม นอกจากนี้ Text Box ยังสามารถกำหนดให้ใช้เป็นการแสดง
ผลข้อมูลทางหน้าจอได้ด้วย ซึ่งการกำหนดดังกล่าวจะเกิดจากการใช้คำสั่งใน
การเขียน โปรแกรมควบคุมการทำงาน สำหรับวิธการสร้าง Text Box นั้น
สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Text Box ใน Tool Box
เมื่อคลิกที่ปุ่ม Text Box แล้วจะทำให้ Mouse Pointer เปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย + (เครื่องหมายบวก) หากต้องการวาง Text Box ไว้ที่ใดให้นำ Mouse Pointer ไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ
2. เลื่อนเมาส์มาที่ Form หรือพื้นที่สีเทา ให้ Mouse Pointer วางอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการใส่ Text Box จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากหรือ Drag เพื่อกำหนดตำแหน่งและขนาดของกรอบ Text Box ตามที่ต้องการ เมื่อได้ขนาดของกรอบ Text Box ตามต้องการแล้วให้ปล่อยเมาส์ (Drag and Drop)
3. กำหนดชื่อของ Text Box ที่สร้างโดยกำหนดที่คุณสมบัติ Properties Name จากนั้นกำหนดคำอธิบายหรือคำอ้างอิงที่ Properties การกำหนดชื่อควรขึ้นต้นด้วยตัวอักษร txt ในที่นี้จะกำหนดชื่อและคำอ้างอิงเหมือนกันโดยกำหนดเป็น txt_text1
4. กำหนดลักษณะหรือรูปแบบของตัวอักษรที่ต้องการให้แสดงผลใน Text Box โดยกำหนดที่ Properties Fontที่ Properties Font ให้ใช้เมาส์คลิกปุ่มที่อยู่ด้านขวาของ Properties Font จะปรากฏ Font Dialogboxสำหรับกำหนดลักษณะของตัวอักษรที่ต้องการ เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK ใน Dialogbox นั้น เพื่อเป็นการยืนยันค่ากำหนดดังกล่าวพร้อมกับปิด Font Dialogbox เพื่อกลับไปทำงานในขั้นตอนต่อไป (กำหนดเหมือนกับกำหนดรูปแบบตัวอักษรที่ เลเบล)
5. กำหนดสีของตัวอักษรที่ต้องการแสดงใน Text Box โดยกำหนดที่ ForColos ใน Properties Windows การกำหนดสีของตัวอักษรสามารถทำได้โดยใช้เมาส์คลิกที่ปุ่มด้านขวาของForColor ซึ่งเราเรียกว่า Drop Down List เมื่อคลิกแล้วจะได้ Color Palette หรือแถบตัวอย่างสี จากนั้นให้ใช้เมาส์คลิกที่ช่องของสีที่ต้องการ เพื่อกำหนดให้สีดังกล่าวเป็นสีตัวอักษรที่จะแสดงใน Text Box (กำหนดเหมือนกับที่กำหนดใน เลเบล)
7. จากนั้นทำการจัดวางตำแหน่งของข้อความที่จะให้แสดงผลใน Text Box โดยกำหนดที่ Properties Alignment
8. ที่ Properties Multiline เป็น True เพื่อให้การแสดงข้อความแสดงได้หลายบรรทัดสำหรับกรณีที่ข้อความที่อินพุทเข้ามามีความยาวมากกว่าขนาดของ Text Box ที่กำหนดไว้
9. จากการกำหนดค่า Properties Caption จะทำให้คำอ้างอิงหรือคำอธิบายที่กำหนดไว้ปรากฏอยู่ที่ Text Box ซึ่งทำให้เวลาป้อนข้อมูลใหม่เข้ามาจะทำให้อ่านข้อความลำบาก ดังนั้นการกำหนดให้คำอ้างอิงดังกล่าวไม่แสดงผลใน Text Box สามารถทำได้โดยกำหนดที่คุณสมบัติ Properties Text โดยการลบข้อความที่ปรากฏอยู่ที่ช่องสี่เหลี่ยมด้านขวาของคุณสมบัตินี้ทิ้งไป แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
10. นอกจากนี้ในกรณีที่ข้อมูลที่ป้อนเข้ามามีความยาวมาก ซึ่งจะมีผลให้ขนาดของ Text Box เปลี่ยนแปลงจะทำให้แบบฟอร์มที่สร้างไม่เป็นระเบียบ ดังนั้นเราจะเพิ่มแถบ Scroll Bar ไว้ใน Text Box เพื่อทำให้สามารถเลื่อนบรรทัดของข้อความได้โดยไม่ต้องขยายขนาดของ Text Box การเพิ่มแถบ Scroll Bar สามารถทำได้โดยกำหนดค่าของ Properties Scroll Bars เป็นแบบที่เราต้องการ โดยใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Drop Down List ที่อยู่ด้านขวาของคุณสมบัติ Scroll Bars
เมื่อคลิกที่ปุ่มด้านขวาของ Properties Font จะปรากฏ Font Dialogbox ให้กำหนดลักษณะและรูปแบบของตัวอักษรตามต้องการ เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK ใน Font Dialogbox เพื่อยืนยันค่ากำหนดดังกล่าว
5. กำหนดสีของตัวอักษรที่จะให้แสดงที่ Label โดยกำหนดที่ ForeColor โดยการใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Drop Down List ที่อยู่ทางขวามือ จะปรากฏ Color Palette หรือแถบตัวอย่างสี จากนั้นใช้เมาส์คลิกเลือกสีที่ต้องการ
6. การกำหนดขนาดของกรอบ Label ผู้เขียนจะกำหนดให้มีขนาดพอดีหรือ Fit กับขนาดตัวอักษรโดยกำหนดที่ตัวเลือกหรือคุณสมบัติ AutoSize ใน Properties Window โดยกำหนดค่าเป็น True
Text Box Control
Text Box Control คือเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Text Box สำหรับป้อนข้อมูล
ลงในแบบฟอร์ม นอกจากนี้ Text Box ยังสามารถกำหนดให้ใช้เป็นการแสดง
ผลข้อมูลทางหน้าจอได้ด้วย ซึ่งการกำหนดดังกล่าวจะเกิดจากการใช้คำสั่งใน
การเขียน โปรแกรมควบคุมการทำงาน สำหรับวิธการสร้าง Text Box นั้น
สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Text Box ใน Tool Box
เมื่อคลิกที่ปุ่ม Text Box แล้วจะทำให้ Mouse Pointer เปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย + (เครื่องหมายบวก) หากต้องการวาง Text Box ไว้ที่ใดให้นำ Mouse Pointer ไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ
2. เลื่อนเมาส์มาที่ Form หรือพื้นที่สีเทา ให้ Mouse Pointer วางอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการใส่ Text Box จากนั้นคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากหรือ Drag เพื่อกำหนดตำแหน่งและขนาดของกรอบ Text Box ตามที่ต้องการ เมื่อได้ขนาดของกรอบ Text Box ตามต้องการแล้วให้ปล่อยเมาส์ (Drag and Drop)
3. กำหนดชื่อของ Text Box ที่สร้างโดยกำหนดที่คุณสมบัติ Properties Name จากนั้นกำหนดคำอธิบายหรือคำอ้างอิงที่ Properties การกำหนดชื่อควรขึ้นต้นด้วยตัวอักษร txt ในที่นี้จะกำหนดชื่อและคำอ้างอิงเหมือนกันโดยกำหนดเป็น txt_text1
4. กำหนดลักษณะหรือรูปแบบของตัวอักษรที่ต้องการให้แสดงผลใน Text Box โดยกำหนดที่ Properties Fontที่ Properties Font ให้ใช้เมาส์คลิกปุ่มที่อยู่ด้านขวาของ Properties Font จะปรากฏ Font Dialogboxสำหรับกำหนดลักษณะของตัวอักษรที่ต้องการ เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK ใน Dialogbox นั้น เพื่อเป็นการยืนยันค่ากำหนดดังกล่าวพร้อมกับปิด Font Dialogbox เพื่อกลับไปทำงานในขั้นตอนต่อไป (กำหนดเหมือนกับกำหนดรูปแบบตัวอักษรที่ เลเบล)
5. กำหนดสีของตัวอักษรที่ต้องการแสดงใน Text Box โดยกำหนดที่ ForColos ใน Properties Windows การกำหนดสีของตัวอักษรสามารถทำได้โดยใช้เมาส์คลิกที่ปุ่มด้านขวาของForColor ซึ่งเราเรียกว่า Drop Down List เมื่อคลิกแล้วจะได้ Color Palette หรือแถบตัวอย่างสี จากนั้นให้ใช้เมาส์คลิกที่ช่องของสีที่ต้องการ เพื่อกำหนดให้สีดังกล่าวเป็นสีตัวอักษรที่จะแสดงใน Text Box (กำหนดเหมือนกับที่กำหนดใน เลเบล)
7. จากนั้นทำการจัดวางตำแหน่งของข้อความที่จะให้แสดงผลใน Text Box โดยกำหนดที่ Properties Alignment
8. ที่ Properties Multiline เป็น True เพื่อให้การแสดงข้อความแสดงได้หลายบรรทัดสำหรับกรณีที่ข้อความที่อินพุทเข้ามามีความยาวมากกว่าขนาดของ Text Box ที่กำหนดไว้
9. จากการกำหนดค่า Properties Caption จะทำให้คำอ้างอิงหรือคำอธิบายที่กำหนดไว้ปรากฏอยู่ที่ Text Box ซึ่งทำให้เวลาป้อนข้อมูลใหม่เข้ามาจะทำให้อ่านข้อความลำบาก ดังนั้นการกำหนดให้คำอ้างอิงดังกล่าวไม่แสดงผลใน Text Box สามารถทำได้โดยกำหนดที่คุณสมบัติ Properties Text โดยการลบข้อความที่ปรากฏอยู่ที่ช่องสี่เหลี่ยมด้านขวาของคุณสมบัตินี้ทิ้งไป แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
10. นอกจากนี้ในกรณีที่ข้อมูลที่ป้อนเข้ามามีความยาวมาก ซึ่งจะมีผลให้ขนาดของ Text Box เปลี่ยนแปลงจะทำให้แบบฟอร์มที่สร้างไม่เป็นระเบียบ ดังนั้นเราจะเพิ่มแถบ Scroll Bar ไว้ใน Text Box เพื่อทำให้สามารถเลื่อนบรรทัดของข้อความได้โดยไม่ต้องขยายขนาดของ Text Box การเพิ่มแถบ Scroll Bar สามารถทำได้โดยกำหนดค่าของ Properties Scroll Bars เป็นแบบที่เราต้องการ โดยใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม Drop Down List ที่อยู่ด้านขวาของคุณสมบัติ Scroll Bars
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น